สต็อกนมแม่อย่างไร ให้ได้คุณภาพสูงสุด
เมื่อต้องออกไปทำงานห่างจากเจ้าตัวเล็ก คุณแม่ก็ต้องทำสต็อกน้ำนมไว้ เพื่อให้ลูกได้ทานนมแม่เมื่อยามที่เกิดหิวขึ้นมา เชื่อว่าสต็อกนมแม่เป็นหนึ่งในปัญหาที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนจะต้องเผชิญ วันนี้เราดูวิธีทำสต็อกนมแม่เพื่อให้เก็บรักษานมแม่ได้ดีที่สุดกันค่ะ
ขั้นตอนการเก็บรักษานมแม่
- เริ่มต้นปั๊มนมช่วง ตี 5 - 6 โมงเช้าจะดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายแม่สามารถผลิตน้ำนมได้มากที่สุด
- ระหว่างวันแม่สามารถปั๊มนมเก็บได้ โดยการปั๊มหลังจากลูกตื่มนมในแต่ละมื้อประมาณ 15 นาที
- เลือกใช้เครื่องปั๊มและถุงเก็บที่ได้มาตรฐาน
- ฆ่าเชื้อภาชนะ ช่วยให้เก็บคุณค่าของน้ำนมได้นาน
- เขียนกำกับวันที่ปั๊มนมหน้าถุงเก็บให้ชัดเจนเสมอ
อุณหภูมิที่เหมาะสม
- ห้องปกติ มากกว่า 25°C เก็บได้ 1 ชั่วโมง
- ห้องแอร์ น้อยกว่า 25°C เก็บได้ 4 ชั่วโมง
- กระติกน้ำแข็ง 15°C เก็บได้ 24 ชั่วโมง
- ตู้เย็นช่องธรรมดา 0 - 4°C เก็บได้ 2 - 3 วัน
- ตู้เย็นช่องแช่แข็ง -4°C เก็บได้ 2 สัปดาห์
- ช่องแช่แข็งเย็นจัด -19°C เก็บได้ 6 เดือน
ถึงแม้ว่าจะนมแม่จะเก็บได้นานสุดถึง 6 เดือน แต่ก็ไม่ควรเก็บไว้นาน อย่างมากที่สุดก็ไม่ควรจะเกิน 1-2 วันนะคะ
วิธีการนำน้ำนมแม่แช่เย็นมาใช้
- ให้นมแม่อยู่ในตู้เย็นช่องธรรมดา 12 ชั่วโมง
- แช่นมแม่กับน้ำอุ่นเท่านั้น
- ห้ามใช้ไมโครเวฟละลายน้ำนมแม่ เพราะจะทำให้สูญเสียสารอาหาร
- ควรทานนมแม่ที่นำออกมาละลายแล้วให้หมด
- ไม่ทิ้งนมแม่ไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง
อ่านบทความเพิ่มเติม : https://www.parentsone.com/stock-breast-milk-for-mom/